ความเปลี่ยนแปลงมากมายในโลกล้วนแลกมากับสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย เมื่อมองไปข้างหน้า ตัวเราในอนาคตและลูกหลานจะอยู่กันอย่างไรในสภาพแวดล้อมและสังคมที่เป็นปัญหา ทำให้ปัจจุบัน ประเด็นด้าน “ความยั่งยืน (Sustainability)” และ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)” กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรหันมาให้ความสนใจ เพื่อช่วยสร้างความยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรในระยะยาว เตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต
แนวคิดการทำธุรกิจแบบ ESG (Environment, Social and Governance) คือการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งหมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการดำเนินชีวิตในลักษณะที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจในระยะยาว ดูแลและรักษาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คงอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ESG ปัจจัยสำคัญสู่แนวทางการประกอบกิจการตามหลักความยั่งยืน
ในยุคที่ความยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วยปัจจัยสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลง การมุ่งไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง จะต้องไม่มองข้ามมิติใดมิติหนึ่งใน 3 มิติของ ESG อันได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ที่ต้องขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน ESG จึงเป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ประเมินความสามารถขององค์กรในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ และผลกระทบทางจริยธรรมของการลงทุนในธุรกิจ
มิติด้านสิ่งแวดล้อม พิจารณาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ มิติด้านสังคม พิจารณาการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของสังคมทั้งภายในและนอกบริษัท มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ชุมชน และสังคมรอบข้าง รวมถึงมีความรู้ความเข้าใจสภาพสังคมและพิจารณาตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และ มิติด้านธรรมาภิบาล พิจารณาด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีแนวทางบริหารความเสี่ยงชัดเจน การบริหารจัดองค์กรที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การนำหลักการ ESG มาปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้องค์กรเติบโตในระยะยาว ลดความเสี่ยง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ซึ่งการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล ไม่ได้เพียงแค่ช่วยให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคมเท่านั้น แต่ยังสร้างประโยชน์ที่ยั่งยืน สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และสร้างโอกาสใหม่ในการเติบโต
นวัตกรรมและเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมและเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติของ ESG ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด และพลังงานสีเขียวเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ทำให้ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมจึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตนเองศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาขึ้นจากความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม มาปรับใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลายแนวทาง โดยเฉพาะการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อีกทั้งยังอาจช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้อีกด้วย
นอกเหนือจากนั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ก็เป็นตอบสนองต่อนโยบายหรือกฎข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อบังคับเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการขยะ หรือการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เพราะธุรกิจที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้ อาจเผชิญกับการถูกปรับ การถูกจำกัดทางการค้า หรือเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี การทำ ESG จึงช่วยให้ธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและข้อกำหนดใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
และที่น่าสนใจในเวลานี้ คือเรื่องของคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสามารถสร้างแรงจูงใจให้ลงทุนในเทคโนโลยีสร้างคาร์บอนเครดิตได้เช่นกัน เพื่อรับมือกับข้อกำหนดหรือข้อกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย
นวัตกรรมและเทคโนโลยีจาก IDEMITSU กับการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ดีขึ้นขององค์กร คือสิ่งสำคัญที่ต้องมีควบคู่ไปกับความยั่งยืน โดยต้องตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจของธุรกิจ และตอบโจทย์ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ดังเช่น บริษัท อิเดมิตสึ โคซัน จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำด้านธุรกิจพลังงาน มุ่งเน้นสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ทว่าสิ่งที่อิเดมิตสึทำในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่การมีพลังงานให้เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ยังคำนึงด้วยว่าพลังงานที่ใช้นั้นดีต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ แค่พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนดีเพียงพอหรือยัง หรือควรต้องเป็นพลังงานสีเขียวที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
เห็นได้จาก เทคโนโลยีพลังงานสีเขียว ของอิเดมิตสึ ที่มีเป้าหมายจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทั้งระบบอย่างครบวงจร และบรรลุสังคมเป็นกลางทางคาร์บอนและพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2050 เป็นสิ่งที่อิเดมิตสึได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาขึ้นจากความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการทำธุรกิจพลังงานที่มีมานานกว่า 113 ปี โดยอิเดมิตสึถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทำเพื่อโลก เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน
เทคโนโลยีพลังงานสีเขียวของอิเดมิตสึ มีตั้งแต่การประหยัดทรัพยากรและการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เช่น การออกแบบวัสดุแบตเตอรี่รุ่นถัดไปสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า การคิดค้น IDEMITSU Green Energy Pellets ซึ่งเป็นพลังงานชีวมวลทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหิน หรือการรีไซเคิลพลาสติกใช้แล้วมาทำเป็นพลังงาน เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ เชื้อเพลิงจากแอมโมเนีย เชื้อเพลิงไฮโดรเจน และ SAF เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการทำ Smart Yorozuya ที่จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น อิเดมิตสึยังพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ IDEMITSU IFG, IFD และ IRG ซีรีส์ ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงที่ชูนวัตกรรมการขับเคลื่อนสังคมสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ด้วยการลดและชดเชยคาร์บอน โดย IDEMITSU IFG /IRG ซีรีส์ เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันนาโนเทเลอร์ (Nano Tailored Oil) ที่ผ่านการทดสอบและวิจัยมาอย่างยาวนาน ช่วยปกป้องเครื่องยนต์อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ก็เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการยืดอายุผลิตภัณฑ์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประหยัดพลังงาน ประหยัดทรัพยากร และลดของเสีย
และผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดอย่าง IDEMITSU IFG Plantech Racing ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ จากเทคโนโลยี PlantTech ผสานกับเทคโนโลยีน้ำมันนาโนเทเลอร์คุณภาพสูงที่ส่งต่อมาจาก IDEMITSU IFG/IRG Series จนได้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องที่ใช้วัตถุดิบจากพืช (Plant based) ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ มาผลิตเป็นน้ำมันพื้นฐานมากกว่าร้อยละ 80 และโดดเด่นด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ ได้มาตรฐาน API SP เป็นน้ำมันเครื่องจากพืช และเปี่ยมด้วยสมรรถนะระดับการแข่งขัน นี่จึงนับเป็นครั้งแรกของโลกที่น้ำมันเครื่องจากพืชสามารถใช้ได้ในสนามแข่ง
โดยผลการทดสอบจากการลงสนามแข่งจริง พบว่า IDEMITSU IFG Plantech Racing สามารถรักษาสมรรถนะสูงสุดของเครื่องยนต์ได้อย่างยาวนานจนจบการแข่งขัน 5 ชั่วโมง แม้ว่าจะอยู่ภายใต้สภาวะที่รุนแรง ให้ความทนทาน มีการระเหยต่ำ มอบศักยภาพในการเร่งเครื่อง และปกป้องเครื่องยนต์เป็นอย่างดี
นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่อิเดมิตสึสร้างสรรค์ขึ้น ล้วนแล้วแต่ตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดการปล่อย-เพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก อย่างการใช้เทคโนโลยี Plantech เพราะในกระบวนการปลูกพืช จะมีการดูดกลับก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์จากบรรยากาศมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสร้างอาหารหรือกระบวนการสังเคราะห์แสง มากกว่าปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาในกระบวนการผลิตน้ำมันพื้นฐาน ให้ความสำคัญกับเรื่องพลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสีเขียว รวมถึงปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเครื่องสูตรใหม่ให้เป็นมิตรต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมกว่าที่เคย โดยยังรักษาความสามารถในการปกป้องและเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์
ทั้งหมดนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า “อิเดมิตสึ” ให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างพิถีพิถันและการปรับปรุงเทคโนโลยีของน้ำมันหล่อลื่นมาโดยตลอด และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ที่ชื่นชอบการขับขี่ต่อไป และนี่ยังเป็นส่วนหนึ่งของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่ชัดเจน เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างอนาคตที่สมดุลและยั่งยืนในหลายมิติ
การส่งต่อความยั่งยืนของ IDEMITSU ให้กับ บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด
ในส่วนของ บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น ภายใต้แบรนด์ “อิเดมิตสึ” จากประเทศญี่ปุ่น จนทำให้ “อิเดมิตสึ” เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องชั้นนำที่อยู่คู่คนไทยมานานถึง 55 ปี การมีความร่วมมืออันดีกับ บริษัท อิเดมิตสึ โคซัน จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ได้รับการถ่ายทอดนวัตกรรม เทคโนโลยี และการพัฒนาคุณภาพของน้ำมันเครื่องมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนวัตกรรมและเทคโนโลยีในผลิตภัณฑ์สูตรใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่เพียงเท่านั้น ที่ผ่านมา บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมในด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ยึดมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกส่วนของการผลิต ดูแลสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ทั้งคุณภาพอากาศ พลังงานสะอาด และระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต เพื่อสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืน รวมถึง “การจัดทำการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร” เพื่อให้สามารถทวนสอบผลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานขององค์กรได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อย-เพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อชุมชนเมือง
การจัดทำการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ ของบริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด นอกจากเป็นแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 10% ภายในปีค.ศ. 2035 มีเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปีค.ศ. 2050 และมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปีค.ศ. 2065 แล้ว ยังเป็นการปูทางไปสู่การสร้างคาร์บอนเครดิต ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้นี้
การดำเนินธุรกิจตามหลักการของความยั่งยืน จึงไม่ใช่แค่กระแส เทรนด์ หรือทำเพื่อมุ่งส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและความน่าเชื่อถือขององค์กรเท่านั้น หากแต่มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการเติบโตขององค์กรไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นจริง สามารถสร้างความสำเร็จทั้งในด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลสืบเนื่องไปในระยะยาว
บทความประชาสัมพันธ์จาก : บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด www.apollothai.com
ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID : @apollothailand