ปีทองของ SME ยานยนต์! คาร์แทรค มีข่าวดีทุนอุดหนุนมูลค่าหลักแสนมาบอก!!
ปี 2566 นี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ สสว. มีแนวทางการส่งเสริม SME ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ให้เติบโตไป 2 แนวทาง
แนวทางแรก คือ การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า
- เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของแรงงาน / ช่าง ให้รองรับเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างจากเดิม รวมถึงบริการหลังการขาย เช่น การซ่อมบำรุง
- เพื่อส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดเฉพาะ เช่น การผลิตรถบัส หรือรถสามล้อรับจ้างเพื่อการท่องเที่ยว / การดัดแปลงรถเก่าคลาสสิกเป็นรถไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อการใช้งานภายในประเทศ
แนวทางที่สอง คือ เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน / เครื่องมือแพทย์
- เพื่อส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมที่มีความใกล้เคียง เช่น อุตสาหกรรมอากาศยาน / เครื่องมือแพทย์ เพื่อเป็นการขยายช่องทางการตลาด และเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ผลิต
สำหรับวิธีส่งเสริม ก็แบ่งออกเป็น 2 วิธี เช่นกัน
วิธีที่หนึ่ง คือ ส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบผู้ให้บริการธุรกิจ (BDS) ด้วยทุนอุดหนุนค่าใช้จ่าย 50% – 80% สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท!
ประเภทค่าใช้จ่าย ก็เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐาน อย. GMP HACCP ฯลฯ / ค่าตรวจวิเคราะห์ สอบเทียบเครื่องมือ / ค่าใช้จ่ายเพื่อขอมาตรฐานต่ออายุมาตรฐาน-ค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การเจรจาการค้า หรือจับคู่ธุรกิจ
โดยระยะเวลาขอรับทุนอุดหนุน SME เริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 สนใจสามารถดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://bds.sme.go.th
วิธีที่สอง คือ ส่งเสริม SME เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 สสว. จะเป็นตัวเชื่อมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เช่น กองทัพต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อให้ SME รับทราบความต้องการและวางแผนเตรียมตัวผลิตให้ตรงตามความต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาสินค้า ขอการวิจัย และการวิเคราะห์ทดสอบชิ้นส่วน รวมถึงขอรับรองมาตรฐานที่จำเป็น
ชิ้นส่วนที่เข้าข่ายในเวลานี้จะเป็นชิ้นส่วนเสริมที่ไม่ได้มีความสำคัญหลัก หรือชิ้นส่วนสำหรับใช้งานภาคพื้นของอากาศยาน หรือชิ้นส่วนอวกาศยานรุ่นเก่า ที่หาซื้อในตลาดไม่ได้แล้ว
ชิ้นส่วนที่ SME ได้รับคำสั่งซื้อและผลิตออกมาแล้วเรียบร้อยเวลานี้คือ Dolly, Engine stand, Rubber seal, O-ring
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากได้รับรองมาตรฐานหรือมีการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐแล้ว ก็เข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างภาคเอกชนต่อไป
หรือเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตระดับบน Tier 1 และ 2 มีการเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมสายการผลิตจากผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น Lockheed Martin และ Triumph Group ซึ่งเป็นผู้ผลิตระดับ Tier 1 และ 2
ย้ำนะคะว่า SME ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://bds.sme.go.th เลย
และทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาของหัวข้อที่ 3 ของจากงานสัมมนาออนไลน์ “ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้ากับภาคธุรกิจไทย ไปถึงไหนแล้ว?” ที่จัดโดย Cartrack
ที่มา: คาร์แทรค เทคโนโลยี (ไทยแลนด์)