ปิดท้ายความมันส์ของการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการ FIA World Endurance Championship (WEC) สนามส่งท้ายฤดูกาลสุดยิ่งใหญ่เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่าเป็นโค้งสุดท้ายของการแย่งชิงตำแหน่งแชมเปียนส์ที่ได้จัดขึ้นต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ติดต่อกันในประเทศบาห์เรน โดยการแข่งขันส่งท้ายฤดูกาลนี้เป็นการแข่งขันภายในระยะเวลา 8 วัน อันประกอบด้วยรายการแข่งขัน 6 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา และรายการแข่งขัน 8 ชั่วโมงในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2021 ที่จะถึงนี้ ณ สนาม Bahrain International Circuit ใกล้เมืองหลวง Manama สำหรับทีมแข่ง Porsche GT ลงสนามแข่งหลังพวงมาลัยรถแข่งปอร์เช่ 911 อาร์เอสอาร์ (Porsche 911 RSR) ที่พกพาความแรงระดับ 515 แรงม้า เพื่อป้องกันตำแหน่งในรุ่น GTE-Pro ด้วย การแข่งขันครั้งนี้นับเป็นการจัดการแข่งขันที่ต่อเนื่องถึง 2 สนามถือเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ของรายการ WEC และเป็นอีกหนึ่งความท้าทายพิเศษที่ทีมแข่งปอร์เช่ต้องเผชิญสำหรับฤดูกาลนี้
ทีมปฏิบัติการของ Manthey ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2021 ที่ผ่านมา โดยมี DHL บริษัท logistics คู่สัญญาของ WEC เป็นผู้ช่วยในการดำเนินการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 5 ตู้ ไปยัง Bahrain ผ่านทางเมืองท่า Antwerp ประเทศเบลเยี่ยม โดยภายในบรรจุอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับรองรับการแข่งขัน 2 สนามติดต่อกัน รวมถึงรถแข่งปอร์เช่ 911 อาร์เอสอาร์ (Porsche 911 RSR) 2 คัน และรถ safety cars อีก 2 คัน อุปกรณ์ทั้งหมดและรถทุกคันได้รับการซ่อมบำรุงโดยทีมงานของ Manthey เช่นเดียวกันกับการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบไฮไลท์สำคัญของฤดูกาลอย่าง Le Mans 24 Hours หากพิจารณาในด้านของระยะทาง รายการการแข่งขัน Le Mans 24 Hours ห่างจากสำนักงานใหญ่ของปอร์เช่เพียง 556 กิโลเมตร แต่ในขณะที่ Bahrain ต้องเดินทางไกลถึง 4,558 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม กระบวนการขนส่งได้รับการบริหารจัดการเป็นอย่างดี
Bernhard Demmer ผู้จัดการทีมแข่ง Porsche GT กล่าวว่า “เมื่อเราพิจารณาจากระบบโลจิสติกส์ของการแข่งขันรูปแบบ back-to-back races ในพื้นที่อ่าวเปอร์เซีย มีการขนส่งที่ง่ายกว่าในรูปแบบของการแข่ง One Race ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วตามด้วย One Race ที่ประเทศบาห์เรน ทั้งนี้ตามแผนการเดิม ปฏิทินการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการ FIA WEC ถูกกำหนดให้มีการแข่งขันขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และประเทศบาห์เรน ในช่วงปลายฤดูกาล กระบวนการของศุลกากรทั้ง 2 ประเทศ เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความเอาใจใส่เป็นอย่างมาก สำหรับประเทศบาห์เรน การขนส่งถูกกำหนดให้เป็น ‘temporary import’ หรือการนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์เพียงระยะเวลาชั่วคราว จึงส่งผลให้การขนส่งสามารถจัดการได้ง่ายดาย สำหรับประเทศญี่ปุ่น สินค้านำเข้าประเทศจะต้องผ่านวิธีการที่เรียกว่า ‘ATA Carnet’ ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ประกอบอื่นเพิ่มเติม คือ หนังสือรับรองจากหอการค้า และสภาอุตสาหกรรม ซึ่งเต็มไปด้วยลายเซ็นต์ รวมทั้งตราประทับ เนื่องจากเวลาอันจำกัด เราจึงจำเป็นต้องขนส่งรถแข่ง และเครื่องมือไปยังฟูจิด้วยเครื่องบิน นั่นส่งผลให้เรามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าการขนส่งทางเรือเดินสมุทร ราว 7 ถึง 10 เท่าตัว
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตารางการแข่งขันในช่วงปลายฤดูกาลดังกล่าว ไม่เพียงช่วยให้ทีมแข่ง Porsche GT ประหยัดงบประมาณลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกำลังคนในบางส่วนงานรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ภายในพิท ที่ไม่ต้องติดตั้งและรื้อถอนใหม่ ในระหว่าง 2 สัปดาห์ของการแข่งขัน ซึ่งหมายความว่าไม่ต้องขนย้ายอุปกรณ์ และจัดเก็บถึง 2 ครั้งเช่นเดียวกัน รถแข่งจะได้รับการซ่อมบำรุงด้วยเครื่องมือที่ติดตั้งพร้อมช่องบริการตลอดกิจกรรมการแข่งขันทั้ง 2 สนาม ทีมงานทั้งหมดจะใช้เวลาในสนามแข่งอันยอดเยี่ยมดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 14 วันในภูมิภาคตะวันออกกลาง ท่ามกลางผู้คนที่เป็นมิตร รวมถึงได้พัก ในโรงแรมระดับ first class ยิ่งไปกว่านั้น ทุกคนสามารถดื่มด่ำกับแสงอาทิตย์ และอากาศแสนอบอุ่น ก่อนจะกลับไปพบกับฤดูหนาวในทวีปยุโรป ไม่มีที่ไหนจะดีไปกว่าบาห์เรนอีกแล้ว”
Alexander Stehlig หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการของ FIA WEC กล่าวเสริมว่า “หลังจากการแข่งขัน Race แรก เมื่อเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา สิ้นสุดลง ทีมงานจะใช้เวลา 4 วันในการซ่อมบำรุงรถแข่งร่วมถึงเป็นเวลาที่ทีมงานจะได้พักผ่อน โดยการจัดสรรเวลาพักผ่อนให้กับทีมงานทุกคนคือหน้าที่ของผู้บริหารทีม สำหรับการแข่งขันที่ติดต่อกัน 2 สนามเช่นนี้ ทำให้เราจำเป็นต้องใส่ใจดูแลบุคลากรของเราให้ดียิ่งขึ้นเป็นพิเศษ ตารางการแข่งขันในครั้งนี้ไม่แตกต่างจากการแข่งขัน Le Mans 24 Hours ในประเทศฝรั่งเศส ที่เริ่มต้นด้วยวันทดสอบ และหลังจากนั้น 6 วัน รายการการประลองความเร็วสุดคลาสสิคจะเริ่มขึ้น นับเป็นโปรแกรมการทำงานที่ค่อนข้างทรหด แต่สำหรับที่บาห์เรนการแข่ง 2 สนามใช้เวลารวม 14 ชั่วโมง แถมด้วยวันทดสอบรถของนักแข่งดาวรุ่งหน้าใหม่ โดยหลังปิดฤดูกาลทีมแข่ง Porsche GT ได้วางแผนโดยคำนึงถึงตารางงานทั้งหมด รวมถึงช่วงหยุดพักที่มีความจำเป็นอย่างมาก ในกรณีที่รถแข่งปอร์เช่ 911 อาร์เอสอาร์ (Porsche 911 RSR) วิ่งผ่านเส้นชัยในการแข่ง Race แรกโดยปราศจากความเสียหาย ตัวรถจะได้รับการซ่อมบำรุงในวันอาทิตย์และช่วงเช้าวันจันทร์ จากนั้นทีมงานจะมีเวลาพักผ่อนอย่างอิสระประมาณ 24 ชั่วโมง การปรับแต่งรวมถึงการตั้งค่าต่างๆ ของรถ จะยังไม่เริ่มขึ้น จนกระทั่งช่วงบ่ายวันอังคาร โดยกิจกรรมการแข่งขันของสัปดาห์ที่ 2 จะเริ่มขึ้นในวันพฤหัสที่ 4 พฤศจิกายน 2021
Bernhard Demmer กล่าวต่อ “สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ และมักจะถูกมองข้ามอยู่เสมอ ในกรณีที่นักแข่งบินกลับบ้านระหว่างการแข่งขัน 2 สนาม ตัวอย่างเช่น ที่ฟูจิ และบาห์เรน เหมือนกับการกดปุ่ม reset ให้กับตัวเองโดยอัตโนมัติ ทีมงานจะมีความมุ่งมั่นเต็มพิกัดสำหรับการแข่งขันในสุดสัปดาห์ต่อไป เราต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับการแข่งขันแบบ back-to-back ที่กำลังจะมาถึง แม้ว่ามันจะดูเหมือนการทำงานระยะยาวแบบรวดเดียวก็ตาม เราต้องแบ่งแยกความทุ่มเทและพละกำลังให้เหมาะสม เนื่องจากการแข่งขันใน 2 สนามสุดท้ายนี้ มีตำแหน่งแชมเปียนส์เป็นเดิมพัน ผู้จัดการทีมแข่งแสดงทัศนะ แท้จริงแล้ว ที่นี่เปรียบเสมือนการทดลอง เนื่องจากเราไม่เคยมีประสบการณ์ในการแข่งขันรูปแบบนี้มาก่อน” Alexander Stehlig เสริมว่า “ผมพบว่าทีมวิศวกรต้องทำงานอย่างเข้มงวดในสถานการณ์เช่นนี้ พวกเขาต้องคอยติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อมภายในระยะเวลา 4 วัน ซึ่งโดยปกติจะมีเวลา 2 หรือ 3สัปดาห์เพื่อทำสิ่งเหล่านั้น ไม่มีวิธีการไหนที่จะทำให้เราฝึกฝนให้รับมือกับเรื่องนี้ได้ดีไปกว่าการเข้าร่วมการแข่งขัน FIA WEC 6 สนามต่อฤดูกาล การแข่งขัน FIA WEC แตกต่างจากการแข่งขันรายการอื่น อาทิ NASCAR ทั้ง 36 สนาม นั่นคือการแข่งกันแบบสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ทีมงานสามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมการแข่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ถึงแม้ว่าเราจะเอาชนะได้ในสนามแรก แต่ทั้งนักขับ และวิศวกร ยังคงต้องค้นหาจุดที่ลงตัวสำหรับการปรับแต่งรถของเรา ข้างต้นคือคำกล่าวพร้อมรอยยิ้มของหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ FIA WEC “ผมรับหน้าที่เป็นวิศวกรรถแข่งมานาน รู้ว่าคนอย่างพวกเราชอบการคิดคำนวณจนละเอียดถึงทศนิยม 2 ตำแหน่ง ทั้งที่ตำแหน่งแรกก็น่าจะเพียงพอแล้ว นั่นแหละคือวิธีการทำงานของเรา และมันเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตามเราจะต้องบริหารจัดการภาระงานในส่วนนี้ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นวิศวกรควรจะอนุญาตให้ตัวเองได้หยุดพักสมองบ้างสัก 3 ชั่วโมงเช่นกัน”
ความพิถีพิถันในทุกรายละเอียด คือส่วนสำคัญในการทำงานของทีมแข่ง Porsche GT ผู้จัดการทีม Bernhard Demmer มี 2 สิ่งที่ถือเป็น ‘หัวใจสำคัญ’ ซึ่งได้รับการบรรจุหีบห่ออย่างระมัดระวัง และขนส่งไปยัง Bahrain “เรามีเครื่องซักผ้า และเครื่องอบผ้าไปกับขบวนสัมภาระของเราด้วย เนื่องจากระยะเวลายาวนานของกิจกรรม เสื้อผ้าของทีมงาน รวมทั้งนักแข่งจำเป็นต้องทำความสะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะท่ามกลางอากาศอันร้อนระอุของทะเลทราย การใช้บริการซักรีดของผู้รับจ้างอย่างเช่นโรงแรม คุณมักจะต้องเจอกับความเสี่ยงเมื่อเสื้อผ้าที่ส่งกลับมาหดตัวลง เป็นเรื่องที่ดีกว่า หากเราจะลงมือซักเสื้อผ้าของเราเอง” Demmer กล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ
ติดตามข้อมูลข่าวสาร ภาพยนตร์ และภาพถ่าย ได้ที่ Porsche Newsroom: newsroom.porsche.com
Twitter channel @PorscheRaces นำเสนอข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ Porsche Motorsport พร้อมภาพถ่ายส่งตรงจากขอบสนามแข่งขันทั่วโลก
เกี่ยวกับ AAS Auto Service
ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ปอร์เช่อย่างเป็นทางการ ได้สร้างความเชื่อมั่นในด้านการดูแลหลังการขายให้กับลูกค้าปอร์เช่ทุกท่าน ด้วยทีมวิศวกรที่ผ่านการ ทดสอบระดับเหรียญ ทอง (ZPT3 Gold Theory Test & Recertification) ถึง 12 คน ซึ่งถือว่ามี จำนวนมากที่สุดของศูนย์รถยนต์ปอร์เช่ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคทั้งหมด 13 ประเทศ สะท้อนให้เห็นถึง ความสำคัญ ในเรื่องการให้บริการหลังการขาย โดย เอเอเอส ทุ่มงบการอบรมวิศวกร ของเราให้มีคุณภาพสูงสุด ตามนโยบาย หลักของบริษัทที่ว่า “เอเอเอส ดูแลทั้งรถและคุณ AAS Looking after
ที่มา: เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส